ธรรมชาติสวยสม       ถ้ำลม ถ้ำวัง       พระเครื่องดังลือชา       แดนใบยาสุดยอด ถั่วทอด ๒๐๐  ปี แดนคนดีศรีสำโรง
 
 
 
 
 


 
 
 
 
 
 
 
 

เพจสำนักงานเกษตรอำเภอศรีสำโรง
 
https://www.facebook.com/DOAESrisamrong
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


 



 

 

 


 

 

 


 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 






 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   

เชื้อราไตรโคเดอร์มา
      
 เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะเป็นสิ่งที่เกษตรกรส่วนใหญ่คิดถึงเป็นลำดับต้นๆ เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นปรสิตสำหรับเชื้อราชนิดอื่นๆ โดยเชื้อราไตรโครเดอร์มาจะดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช และซากสัตว์ และแหล่งอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร สามารถพบได้โดยทั่วไป เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อ โดยเชื้อราไตรโคเดอร์มา จะสร้างเส้นใยสีขาวและผลิตโคนิเดีย (Conidia) หรือสปอร์รวมเป็นกลุ่มเห็นเป็นสีขาวเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มเชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่ปฏิปักษ์ต่อเชื้อราอื่นที่เป็นสาเหตุของโรคพืชหลายชนิด โดยวิธีแทงรากเข้าสู่ภายในเส้นใยของเชื้อราชนิดอื่นแล้วแย่งกินอาหารของเชื้อราอื่นๆ รวมถึงการปล่อยเอนไซม์หรือสารปฏิชีวนะเพื่อทำลายและกินเชื้อราอื่นเป็นอาหาร

วิธีการป้องกันและกำจัด
           
1. สามารถลดกิจกรรมของเชื้อราสาเหตุของโรคพืช โดยสามารถพันรัดเส้นใยแล้วปลดปล่อยเอนไซม์ จากภายในของ
เส้นใย ส่งผลให้เกิดการเจริญของเส้นใยของเชื้อโรคลดลงอย่างมาก

           2. สามารถลดปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถเข้าไปทำลายส่วนที่เป็นกิจกรรมการเจริญ และการพัฒนาของเส้นใย เพื่อเข้าทำลายพืชอาศัยตลอดจนกิจกรรมเพื่อสืบพันธุ์หรือส่วนโครงสร้างเพื่อขยายพันธุ์ของเชื้อโรค
ทำให้ส่งผลปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคพืชลดลงจนอยู่ในระดับที่ไม่สามารถก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงกับพืชที่ปลูได้
       
           3. สามารถเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของพืชให้เร็วขึ้น ทำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อโรค

           4. เชื้อราไตรโคเดอร์มาช่วยเร่งกระบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เร็วขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินให้แก่พืช
           5. ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกให้เมล็ดพันธุ์และเป็นการป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกับเมล็ดพันธุ์

ข้อควรระวังในการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา
           1. การใช้งานเชื้อราไตรโครเดอร์มาให้ได้ผล ควรใช้อย่างน้อยทุกๆ 7-10 วัน สำหรับในพื้นที่ปลูกพืชเป็นประจำหรือพืชยืนต้น ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาปีละ 2 ครั้ง หรือทุก ๆ 6 เดือน เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณ เชื้อราไตรโคเดอร์มาในดิน ให้มีอยู่ตลอดไป
          2. กรณีฉีดพ่นควรเลือกฉีดพ่นเชื้อราในช่วงเวลาเย็นถึงค่ำ หรือช่วงที่แสงแดดไม่แรงเกินไป และแนะนำให้ใช้สารจับใบร่วมกับการฉีดพ่นเชื้อราจะทำให้การใช้ เชื้อราไตรโครเดอร์มา มีประสิทธิภาพมากขึ้น
         
3. ควรงดใช้สารเคมีที่ออกฤทธิ์กำจัดเชื้อราในช่วงที่มีการใช้งานเชื้อราไตรโคเดอร์มาอยู่

          4. เชื้อราไตรโครเดอร์มาเป็นเชื้อราที่กินเชื้อราอื่นๆ เป็นอาหาร ดังนั้นควรงดใช้ เชื้อราไตรโครเดอร์มานี้กับแปลงเพาะเห็ด
          5. เชื้อราไตรโครเดอร์มา เป็นเชื้อราที่ไม่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยเฉพาะคน และสัตว์จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชปลอดสารพิษ
          6. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อการป้องกันการเกิดโรคจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด


  เตือนเกษตรกร!! เฝ้าระวังโรคใบด่างมันสำปะหลัง
      
โรคใบด่างมันสำปะหลัง มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMV) โดยมีแมลงหวี่ขาวยาสูบ Bemisia tabaci (Gennadius) เป็นแมลงพาหะในการถ่ายทอดโรค และเชื้อไวรัส (SLCMV) สามารถติดไปกับท่อนพันธุ์มันสำปะหลังได้ ลักษณะอาการของโรค พืชจะแสดงอาการใบด่าง เหลือง ลดรูป และยอดที่แตกใหม่ จะแสดงอาการด่าง เหลือง รุนแรง ลำต้นแคระแกรน ไม่มีการเจริญเติบโต หรือมีการเจริญเติบโตน้อย สร้างความเสียหายต่อผลผลิต 80-100 เปอร์เซ็นต์ ในกรณีที่มีการระบาดรุนแรง

วิธีการป้องกันและกำจัด
            
       ๑. ห้ามนำเข้าท่อนพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์ของมันสำปะหลัง ยกเว้นมันเส้น และหัวมันสดจากประเทศ
ที่มีรายงานพบการระบาดของโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นศัตรูพืชกักกันตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดศัตรูพืชเป็นสิ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.กักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๐ ทั้งนี้จึงควรงดการนำเข้าท่อนพันธุ์
หรือส่วนขยายพันธุ์จากประเทศเวียดนาม กัมพูชาและประเทศที่มีรายงานการระบาด

                   ๒. สำรวจแปลงมันสำปะหลังอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
                   ๓. ใช้พันธุ์ที่ปลอดโรค หรือจากต้นพันธุ์มันสำปะหลังที่ไม่แสดงอาการของโรค
                   ๔. หากพบต้นมันสำปะหลังแสดงอาการใบด่าง ให้ขุดหรือถอนต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลง และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตรและสำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ใกล้เคียงทันที
                   ๕. ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อป้องกันกำจัดเชื้อโรคจากต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคตกค้างอยู่ในแปลง หลีกเลี่ยงการ
ขนย้ายท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคไปสู่แหล่งที่ยังไม่เคยมีการระบาด

                   ๖. กำจัด หรือหลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของโรคใบด่างมันสำปะหลัง เช่น สบู่ดำ ละหุ่ง และพืชอาศัยของ
แมลงพาหะ เช่น กระเพรา โหระพา ผักชีฝรั่ง พริก มะเขือเปราะ มันฝรั่ง และพืชตระกูลถั่ว

            
       ๗. กำจัดแมลงพาหะ เช่น แมลงหวี่ขาวยาสูบ

    กำจัดเพลี้ยอ่อน ด้วยวิธีธรรมชาติ
การกำจัดด้วยวิธีธรรมชาติคือไม่ต้องใช้สารเคมี เกษตรกรสามารถทำได้ด้วยการใช้ผงซักฟอก โดยใช้ความเข้มข้น 5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นไปยังบริเวณที่พบเพลี้ยอ่อน ในช่วงเช้าหรือเย็น และใช้เหยื่อกำจัดมด หรือกำจัดเพลี้ยอ่อนและมด โดยใช้เชื้อรา
บิวเวอร์เรีย 250 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือเย็นควบคู่กัน


    เตือนเกษตรกร เฝ้าระวังการระบาดเพลี้ยจั๊กจั่นฝ้าย
สำนักงานเกษตรอำเภอศรีสำโรงแจ้งประชาสัมพันธ์ ให้เฝ้าระวังเพลี้ยจักจั่นฝ้าย หรือ เพลี้ยจักจั่นเขียว Amrasca biguttula
เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ เป็นแมลงศัตรูพืชที่ปรับตัวเก่ง ปัจจุบันเพลี้ยจักจั่นได้ปรับตัวจนทำให้มีพืชอาหารใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยจักจั่นฝ้าย จะทำลายตั้งแต่ผลเริ่มงอกจนกระทั่งเก็บผลผลิต โดยจะระบาดมากในช่วงต้นฤดู
และเมื่อฝนทิ้งช่วงนาน ๆ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบส้มโอ พร้อมกับปล่อยสารบางชนิดทำให้ขอบใบไม้
เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ใบไม้จะโค้งงอ แล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงและแดงในที่สุด และมีลักษณะการทำลายเฉพาะตัว คือทำให้ใบพืช
มีอาการไหม้ แห้งกรอบ ที่เรียกว่า
Hopper burn ซึ่งเกิดจากการที่เพลี้ยปล่อยสารพิษลงบนใบ


การป้องกันและกำจัด
 
พ่นด้วยแอมเพล อัตรา 5-10 กรัม หรือคูซั่นเพสท์ อัตรา 30ซีซี หรือ โอโซพรีน อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

 

 หน่วยงานสังกัด

 แผนพัฒนาตำบล ปี 2562-65

แผนพัฒนาอำเภอศรีสำโรง ปี 2562-65  

  ตำบลคลองตาล        ตำบลวัดเกาะ
  ตำบลวังลึก             ตำบลบ้านไร่
  ตำบลสามเรือน        ตำบลทับผึ้ง

  สำนักงานเกษตรอำเภอทุ่งเสลี่ยม

  ตำบลบ้านนา          ตำบลบ้านซ่าน
  ตำบลวังทอง           ตำบลวังใหญ่
 สำนักงานเกษตรอำเภอศรีสัชนาลัย   ตำบลนาขุนไกร      ตำบลราวต้นจันทร์

  สำนักงานเกษตรอำเภอศรีนคร

  ตำบลเกาะตาเลี้ยง

  สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านด่านลานหอย

 

แผนพัฒนาระดับตำบล/ ระดับอำเภอ
ปี 25
66-2570
ฉบับทบทวน

Download
 



สำนักงานเกษตรอำเภอศรีสำโรง
     หมู่ที่ 5 ถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลคลองตาล อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย 64120

      นกส่งข่าว
อีเมล์แอดเดรส           E - mail  Address  ndoae 01155@gmail.com         

  ผู้ดูแลระบบ  - นายภูเบศวร์ กุลศิริ -